![]() |
ภาพบทที่ 2 |
บทที่ 2
สรุปท้ายบทที่ 2การบริหารงานทางสารสนเทศ ใช่ว่าจะเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องศึกษาถึงโครงสร้างพฤติกรรมองค์กร การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี ครั้นเมื่อครบองค์ประกอบดังกล่าวก็จะได้ระบบสารสนเทศ ที่สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ คือระบบที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและนำเสนอรายงานทางสารสนเทศให้แก่ภาคธุรกิจองค์กร ต้องเข้าใจถึงบทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศ และพร้อมที่จะอ้าแขนเปิดรับ ด้วยการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ขั้นตอนมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ประกอบไปด้วยกฎเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจนที่นำมาใช้กับการปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่างานรูทีน โดยพนักงานทุกคนจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างผลผลิตที่ถูกต้องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการเมืองภายในองค์กร เป็นเรื่องราวปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรจะสามารถอยู่รอดได้ หากทุกๆคนในองค์กรได้ปฏิบัติตามกรอบนโยบายการบริหารขององค์กร เตารพซึ่งกันและกัน เพื่อลดความขัดแย้ง และเพื่อให้องค์กรสามารถธำรงอยู่ได้สืบไปวัฒนธรรมองค์กร หมายถึงวิธีปฏิบัติในบางสิ่งขององค์กร ที่จะปฏิบัติเหมือนกัน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กร ซึ่งถือเป็นความเชื่อ ค่านิยม และเป็นการกระทำที่ได้รับการยอมรับทางสังคมภายในองค์กรนั้นๆองค์กรกับสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องกันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งปกติองค์กรยุคใหม่ล้วนเป็นองค์กรระบบเปิด ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาป้อนสิ่งนำเข้า และนำมาประมวลผล จนกระทั่งเป็นสินค้าและส่งออกกลับไปยังสิ่งแวดล้อมหรือผู้บริโภค เช่น แหล่งเงินทุน ผู้ขาย ปัจจัยการผลิต แรงงาน เทคโนโลยี คู่แข่งขัน กฎหมาย และลูกค้า เป็นต้นโครงสร้างองค์กร จะแสดงถึงระดับความซับซ้อน มาตรฐานการทำงาน และระดับการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น โครงสร้างองค์กรในมหาวิทยาลัย ที่มีการแบ่งออกเป็นคณะ ภาควิชา โดยจะมีผู้บริหารอย่างหัวหน้าสาขา คณบดี รองอธิการบดี และอธิการบดี ตามลำดับสายการบังคับบัญชากลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์ หมายถึงแผนการหรือวิธีการที่มีขั้นตอน และถูกคิดค้นขึ้นอย่างมีหลักการ รอบคอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน จนสามารถบรรลุไปสู่เป้าหมายที่ต้องการระดับของกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธระดับหน่วยธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับหน้าที่แบบจำลองแรงกดดันในการแข่งขัน ถูกพัฒนาขึ้นโดย ไมเคิล พอร์เตอร์ ที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์คู่แข่งขันทางธุรกิจ เพื่อหาช่องทางหรือโอกาสต่างๆ ในการที่จะให้องค์กรมีชัยเหนือคู่แข่ง อันประกอบด้วยแรงกดดันหลักๆ 5 ประการ ดังนี้1. การชิงชัยระหว่างคู่แข่งขัน2. ภัยคุกคามจากผู้ค้ารายใหม่3. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน4. อำนาจการต่อรองของลูกค้า5. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตการวางแผนกลยุทธ์ในการชิงชัยกับคู่แข่งขัน ประกอบด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน 2. กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง3. กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม4. กลยุทธ์เพื่อการเจริญเติบโต5. กลยุทธ์เสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจ6. กลยุทธ์สร้างอุปสรรคผู้มาใหม่7. กลยุทธ์เพิ่มต้นทุนเมื่อเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน8. กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม9. กลยุทธ์สร้างสินค้าและบริการใหม่10. กลยุทธ์ปรับปรุงสินค้าและการบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม11. กลยุทธ์ผูกมัดผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือผู้ซื้อ12. กลยุทธ์มุ่งที่ตัวลูกค้าโซ่คุณค่า คือลำดับของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การแปรรู) การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ จนกระทั่งส่งมอบให้กับลูกค้า โดยกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมสำคัญที่สามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการแบบจำลองโซ่คุณค่าของพอร์เตอร์ ได้จำแนกกิจกรรมสำคัญออกเป็น 2 กิจกรรมด้วยกันคือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลัก ในแบบจำลองโซ๋คุณค่าของพอร์เตอร์ ประกอบด้วยกิจกรรมทั้ง 5 ดั้งนี้1. โลจิสติกส์ขาเข้า2. การปฏิบัติการ3. โลจิสติกส์ขาออก4. การตลาดและการขาย5. การบริการลูกค้ากิจกรรมสนับสนุน ในแบบจำลองโซ่คุณค่าของพอร์เตอร์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้1. โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ระบบแบบทันเวลาพอดี หรือ JIT เป็นกลยุทธ์ของส่วนงานคงคลัง ที่พยายามให้สินค้าคงคลังคงเหลือน้อยที่สุด โดยจะทำการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณที่ถูกต้อง ทันเวลา และตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการโลจิสติกส์ เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมถึงการควบคุมกิจกรรม การลำเอียงสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การเคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า การบริหารต้นทุน และการกระจายสินค้า ด้วยการอำนวยความสะดวกในด้านกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต จนกระทั่งเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายและกระจายไปถึงผู้บริโภคกรณีศึกษายาสีฟันเดนทิสเต้กับความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มยาสีฟันเดนทิสเต้ เป็นยาสีฟันยี่ห้อแรกที่ได้เข้ามาสร้างเซกเมนต์ Nigth Time หรือการใช้ยาสีฟันในช่างเวลาก่อนนอน โดยมีจุดขายในเรื่องการลดแบคทีเรียในช่องปากระหว่างการนอนหลับหากว่ากันแล้ว เดนทิสเต้ได้พยายามผลักดันตัวเองเพื่อหลีกหนีสมรภูมิการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดยาสีฟันระดับกลุ่มใหญ่ ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่ราย ที่ได้ใช้งบทางการตลาด ในการประชาสัมพันธ์โฆษณาทางการโทรทัศน์อย่างไม่อั้นด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลปกติแล้วการทำตลาดยาสีฟัน ต่างก็มีจุดขายเดิมๆ ที่เหมือนกัน และมักตอบโจทย์ในเรื่องของสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก รวมถึงระงับกลิ่นปาก แต่สิ่งที่เดนทิสเต้นำมาสร้างเป็นจุดขายถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาไม่มีแบรนด์ใด ที่ใช้จุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วยลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานอนหลับ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เดนทิสเต้ได้หยิบเอากลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มด้วยการ สร้างตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche) ขึ้นมาซ้อนอยู่บนตลาดกลุ่มใหญ่ (Mass) พร้อมกับมุ่งเป้าไปยังคู่รักที่เพิ่งแต่งงานกัน ที่มองถึงปัญหากลิ่นปากจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตื่นนอนตอนเช้าซึ่งจัดเป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครเข้ามาตอบสนองความต้องการในเรื่องดังกล่าวได้สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากยาสีฟันเดนทิสเต้ได้เข้ามาทำตลาดก็คือ ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาสีฟันของคนไทย ที่เปลี่ยนจากการใช้ยาสีฟันหลอดเดียวที่ใช้กันทั้งครอบครัว มาสู่การใช้ยาสีฟันหลอดที่ 2 ที่ครอบครัวได้แยกออกมาใช้ต่างหากจากหลอดเดิม จึงทำให้เดนทิสเต้ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปี ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นยาสีฟันที่ได้รับความสำเร็จอย่างรวดเร็วเกินคาด โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เดนทิสเต้ได้รับการตอบรับอย่างดี ส่วนหนึ่งก็มาจาก การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning) ที่ตรงจุด ด้วยการนำปัญหาที่ผู้บริโภคมีความกังวลมากที่สุดมาเป็นจุดขาย (กลิ่นปากที่เกิดขึ้นช่วงตื่นนอนตอนเช้า) ผลจากการสร้างจุดขายที่มีลักษณะเด่นและแตกต่างนี้เอง ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญ จึงทำให้เดนทิสเต้สามารถนำพาแบรนด์ตัวเอง ด้วยการหลีกเลี่ยงเผชิญหน้าในสมรภูมิการแข่งขันจากเจ้าตลาดที่ได้มุ่งทุ่มงบโฆษณาอย่างมหาศาล และเก็บเกี่ยวยอดขายเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับแบรนด์ของตน เพื่อพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นต่อไปในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น